วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

ประจำวันพุธ - พฤหัสบดีที่8 - 9 เดือนเมษายน พ.ศ 2558

(ไม่ได้มาเรียนเพราะติดภารกิจการผ่อนผันทหาร ณจังหวัดนราธิวาส)

>>>>>>>>>>>>>>> ความรู้ที่ได้รับ <<<<<<<<<<<<<<<


มุ่งมั่นกับการสอนมากค่ะ 
ตัวอย่างตารางการจัดกิจกรรมแบบไฮสโคป

วันนี้อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคสิ่งที่ครูควรทราบและวิธีการเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มเติม 
โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การใช้พื้นที่ในกระดาษของเด็กในการทำงานศิลปะควรเว้นพื้นที่ด้านล่างประมาณ 1 ไม้บรรทัดเพื่ออธิบายผลงานหรือข้อความของเด็ก
  2. ห้ามเขียนแยกองค์ประกอบของภาพเป็นส่วนๆครูพยายามเขียนเป็นประโยคเพื่อให้เด็กได้ภาษาในการสื่อสาร
  3. ถ้าเป็นงานสีน้ำควรนำผลงานไปตากให้เเห้งก่อนนำมาเขียนอธิบายผลงาน
  4. ถ้าเป็นดินน้ำ มันหรือเเป้งโดว์ให้เด็กถือผลงานที่ปั้นหรือเขียนชื่อเด็กก่อนจากนั้นนำ กระดาษมาแปะตรงผลงานของเด็กพร้อมกับคำอธิบายผลงานตามที่เด็กบอกเพืื่อให้ เด็กได้เ็นงานศิลปะของตนเองเเละของเพื่อน
  5. แป้งโดว์มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาที่น้อยกว่าดินน้ำมัน
  6. งานศิลปะบางอย่างต้องหาที่วางงานศิลปะให้กับเด็ก
  7. งานศิลปะมีการเปลี่ยนเเปลงไปตามหน่วยการเรียนรู้ของเด็กในเเต่ละสัปดาห์
  8. งานศิลปะบางชิ้นเด็กสามารถนำกลับบ้านได้เพื่อนำไปให้ผู้ปกครองได้ดูผลงานที่เด็กผลิตขึ้น
  9. ขั้นสรุปหรือนำ เสนอผลงานหน้าชั้นเรียน อาจจะให้นำเสนอผลงานในเเต่ละกลุ่มกิจกรรมละ 3-4 คนในชั่วโมงนั้นๆและมานำเสนอผลงานเพิ่มเติมในตอนเย็นทั้งนี้ควรคำนึงถึง บริบทในเรื่องของเวลาเเละจำนวนของเด็ก
 การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป


การนำไปประยุกต์ใช้

  • การคำนึงถึงในเรื่องพัฒนาการของเด็กเป็นหลักว่าในวัน นั้นๆเด้กสามารถทำอะไรได้บางและเด็กสมควรที่จะต้องทำอะไรได้บางเพื่อให้เป็น ไปตามพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม
  • งานศิลปะที่เด็กผลิตออกมาสามารถบูรณาการในการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้อื่นๆได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา
  • ครูต้องเป็นผู้ที่จะพัฒนาจุดเด่น และจุดด้อยในตัวของเด็กให้พัฒนาไปพร้อมๆกันโดยไม่มุ่งเน้นไปตรงจุดเด่นหรือจุดด้อยเพียงอย่างเดียว
การประเมินหลังการสอน 
ประเมิน ตนเอง : มาเรียนสายบ้างแต่ก็พยายามตามงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำจนครบและเข้าใจใน เนื่อหาที่อาจารย์ถ่ายทอดอย่างละเอียดแต่เนื่องจากตอนนี้ไม่มีเเว่นตาใส่และ สายตาหนูมันก็สั้นมากๆถึงจะตั้งใจฟังขนาดไหนแต่ตามองไม่ค่อยเห็นก็มีบางที่ ไม่ค่อยเข้าใจเพราะไม่ได้เห็นตัวอย่าง วิธีการหรือการสาธิตหน้าชั้นเรียน 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมาเรียนกันตรงเวลาเเต่งกายเรียบร้อยและมีส่วนร่วมในการร่วมตอบคำถามในชั้นเรียนอย่างกระตือรือร้น
ประเมิน อาจารย์ : อาจารย์ไม่ใส่สูทก็ดูดีไปอีกแบบ ดูสบายตาดีบางทีชุดไทยอาจจะเหมาะกับอาจารย์ก็เป็นได้นะคะ 5555 อาจารย์อธิบายเนื้อหาเเละเเเนะนำเทคนิคที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่มีหวงวิ ชาพร้อมเเนะแนวทางการเเก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นให้ในระหว่างจัดกิจกรรม เช่น การเเบ่งกลุ่มกิจกรรม
บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 

ประจำวันจันทร ที่ 30 เดือนมีนาคม พศ 2558

การเขียนแผนศิลปะสร้างสรรค์ในคาบเรียนของรายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย


หน้าตาอาจารย์จริงจังกับการสอนเขียนแผนมากค่ะ ฮ่าๆๆๆ
วิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

1.เลือกจากความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ หัวข้อของเรื่องนั้นต้องไปกว้างจนเกินไปเพราะจะเป็นการยากในการกำหนดเนื้อหา ที่เด็กต้องเรียนรู้ในหัวข้อนั้นๆ
2. จัดเรียงระบบความคิดรวบยอดให้ออกมาในรูปแบบของแผนผังความคิด
3. ศึกษาจาก 6 กิจกรรมหลัก
4. คำนึงถึงพัฒนาการในเเต่ละช่วงวัยของเโ็กปฐมวัยในเเต่ละขั้นอย่างละเอียดว่า เด็กเเต่ละช่วงวัยเขาสามารถทำอย่างไรได้บ้างในวัยของเขาซึ่งการเรียนรู้ที่ เด็กได้จะต้องพัฒนาเด็กแบบองค์รวม คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
5.รูปแบบของการจัดประสบการณ์อย่างมีระบบเรียงลำดับความยากง่ายของกิจกรรมนั้นๆ มีการสังเกต จดบันทึก ในการจัดทำทุกครั้งเพื่อประสิทะิภาพสูงสุดในการประเมินศักยภาพของเด็กแต่ละ บุคคล

การประเมิน
  • ประเมินผลทั้งทางทฏษฏีและการปฏิบัติ
  • การประเมินต้องสอดคล้องกับมาตรฐานเเละตัวชี้วัดของการศึกษาปฐมวัย
  • ประเมินตรงไปตรงมาตามสภาพจริง
  • นำผลที่ได้จากการประเมินไปสู่การแปรผล หาข้อสรุป อย่างเป็นระบบสมเหตุสมผล
  • มีความเที่ยงตรงเป็นธรรมคำนึงถึงหลักความเป็นจริงของเด็ก











การนำไปประยุกต์ใช้
  1. จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ได้ตรงความมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
  2. คำนึงถึงพัฒนาการ ความสามรถ ของเด็กในเเต่ละช่วยเป็นเป็นสำคัญ
การประเมินหลังการสอน
ประเมิน ตนเอง :  มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมิน เพื่อน :  ตั้งใจเรียน และมาตรงเวลา
ประเมินอาจารย์ : อธิบายได้เข้าใจ ง่าย ครอบคลุมเนื้อหา
บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

ประจำวัน พุธที่ 25 เดือนมีนาคม พศ 2558


ศิลปะจากกระดาษทิษชู




อุปกรณ์ 
  • กระดาษทิษชู
  • สีผสมอาหาร
  • กาว
  • กระดาษเปล่า
  • ไม้จิ้มฟัน
วิธีการทำ
  1. การทำกระดาษทิษชูเปียก คือ นำสีผสมอาหารผสมกับน้ำเปล่าในปริมาณพอเหมาะจากนั้นผสมกาวลาเเท็กลงไปกวนในเข้ากัน
  2. ฉีกกระดาษทิษชูเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปในส่วนผสมข้อที่ 1 ที่เราเตรียมไว้พร้อมคนให้เข้ากันเป็นอันเสร็จ
  3. นำกระดาษเปล่ามาวาดโครงร่างรูปที่เราต้องการ
  4. น้ำกระดาษทิษชูมาแปะหรือตกแต่งตามรูปที่เราวาดโครงเอาไว้โดยใช้ไม้จิ้มฟันเป็นตัวช่วยจิ้มกระดาษทิษชูให้ติดเข้ากับกระดาษเปล่า
  5. นำไปตากลมให้เเห้งสนิท

ศิลปะจากใบไม้เเห้ง (งานกลุ่ม )



อุปกรณ์
  • กระดาษ
  • ใบไม้ / ดอกไม้เเห้ง
  • สี
  • กาว
  • กรรไกร
  • ปากกาเมจิสีต่างๆ
วิธีการทำ
  1. นำดอกไม้ / ใบไม้มาตัด แปะ ติด ตามจินตนาการ 
  2. ตกแต่งให้สวยงามตามใจชอบ


ศิลปะสื่อผสม (งานกลุ่ม)


งานชิ้นนี้เป็นการทำทักษะ เทคนิค วิธีการต่างๆมาต่อยอดผลงานศิลปะสื่อผสม เช่น การวาด การพับ การระบายด้วยสีน้ำ การตัดเเปะ เป็นต้น

การนำประยุกต์ใช้ 
  1. นำเทคนิคต่างๆ มาใช้ในการจัดกิจกรรมศิลปะให้เหมาะสมกับช่วงวัย
  2. กิจกรรมศิลปะสามารถทำให้เด็กถ่ายทอดอารมณ์ของตนเองออกมาในงานศิลปะนั้นได้

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : มีความสุขในการทำงานศิลปะที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจทำงานศิลปะและสามารถทำออกมาได้อย่างสวยงาม
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาตรงเวลา
บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 

ประจำวันพุธ ที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ 2558

ไม่ได้มาเรียน 
คัดลอกมาจาก นางสาว กาญจนา ธนารัตน์

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

วันนี้มีงานจำนวน 5 ขิ้นงานประกอบด้วย
งานเดี่ยว 3 ชิ้น และ งานกลุ่ม 2 ชิ้น 

บรรยายกาศการทำงาน.....ตั้งใจสุดๆ 5555



ชิ้นที่ 1 ทำเครื่องประดับจากเส้นมักกะโรนี


ชินที่  1 สร้อยคอ
    ชิ้นที่  2 กำไลข้อมือ
อุปกรณ์ 


  • เส้นมักกะโรนี
  • สีผสมอาหาร
  • ไหมหรม/ เชือก /ยางยืด

วิธีการทำ 


  • ทำเส้นมักกะโรนี้เส้นต่างๆไปย้อมสีสันตามชอบ
  • ผึ่งเเดดให้เส้นที่ย้อมไว้เเห้งสนิท
  • นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับตามใจชอบ


ชิ้นที่ 2 ทำสิ่งประดิษฐ์จากจานกระดาษ(กิ่งก่าอะเมซอน)



เอากลับมานั่งทำที่บ้าน.....ทำนานมาก

อุปกรณ์


  • จานกระดาษขนาดกลาง
  • กระดาษสี
  • ไม้ไอติม
  • กรรไกร
  • หลอด
  • มักกะโรนี
  • ถุงพลากสติก
  • ลวด
  • ครีมหนีบ
  • ไหมพรม
  • ตาไก่เจาะรู
วิธีการทำ


  1. นำจานกระดาษมาพับครึ่งนำด้านสีน้ำตาลออกด้านนอก
  2. วัดกระดาษสีให้มีขนาดเท่าจานกระดาษาที่เราพับไว้ จากนั้นตัดเเละทากาวแปะให้พอดีกับจานกระดาษ
  3. นำตาไก่มาเจาะรูเป็นลวดลายต่างๆตามใจชอบ
  4. ตกแต่งลวดลายของกิ่งก่าด้วยไหมพรมสีสวย
  5. นำลวดมาเสียบเข้ากับหลอดแล้วขดกลมๆไว้เป็นหาง
  6. นำไหมพรมตกเเต่งเป็นตา
  7. เมื่อส่วนตัวเสร็จแล้วก็นำมาทากาวติดกับไม้ไอติมรอจนเเห้ง
  8. นำมามักกะโรนีมาตกแต่งเป็นเท้ากิ่งก่า
  9. นำถุงพลาสติกมาตกเเต่งเป็นต้นหญ้าทากาวติดไว้กับไม้ไอติมเป็นอันเสร็จ








ชิ้นที่ 3 โมบายจากวัสดุเหลือใช้ (โมบายปลาตะเพียน)



นำทักษะที่มีมาประดิษฐ์ประดอย
อุปกรณ์


  • จานกระดาษ
  • ไหมพรม
  • หลอดสีต่างๆ
  • กรรไกร
วิธีการท


  1. สานหลอดให้เป็นตัวปลาตะเพียน
  2. ร้อยตัวปลากับไหมพรมตามลักษณะที่ชอบ
  3. เจาะรูจานกระดาษ จำนวน 6 รู
  4. นำไหมพรมที่ร้อยตัวปลาเสร็จเรียบร้อยแล้วมาร้อยเข้ากับจานกระดาษ

ชิ้นที่ 4 งานกลุ่ม ศิลปะจากแกนกระดาษทิษชู (กล่องใสดินสอหรรษา)

แอ๊บแบ๋วมาก

อุปกรณ์


  • แกนกระดาษทิษชู
  • จานกระดาษ
  • กรรไกร
  • กระดาษสี
  • กาว
  • ของตกแต่ง
วิธีการทำ


  1. นำแกนกระดาษทิษชูมาพันรอบด้วยกระดาษสี
  2. ทากาวด้านล่างของเเกนกระดาษและแปะติดไว้กับจานกระดาษให้แน่น
  3. จัดเเต่งรูปแบบพร้อมตกแต่งตามใจชอบ

ชิ้นที่ 5 งานกลุ่ม ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้



สิ่งประดิษฐ์กับนางแบบกินกันไม่ลงจริงๆ 
อุปกรณ์


  • จานกระดาษ
  • กระดาษสี
  • แกนกระดาษทิษชู่
  • ปากกาเมจิ
  • ดอกไม้กระดาษ
  • เชือก
  • ตาไก่สำกรับเจาะรู
วิธีการทำ


  1. นำจานกระดาษมาตัดครึ้งมาแปะในจานกระดาษอีกอันหนึ่ง
  2. นำปากกาเมจิ ดอกไม้กระดาษ กระดาษสีมาตกแต่งตามใจชอบ
  3. นำแกนทิษชูมาพันรอบด้วยกระดาษสี
  4. นำถุงพลาสติกมาห่อไว้(ลูกอม) ตกเเต่งให้สวยงาม เป็นอันเสร็จ
การนำไปประยุกต์ใช้
ส่วน ตัวแล้วชื่นชอบงานประดิษฐ์พอสมควร การทำงานแต่ละครั้งค่อนข้างนานมาก555 การนำไปประยุกต์ใช้น่าจะเป็นในเรื่องของเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กสามารถทำ ได้ตามพัฒนาการ เวลา และความสนใจของเด็กเป็นหลัก

การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง: มาเรียนทันเวลา ตั้งใจทำงาน ไม่ดื้อไม่ซน ช่วยเพื่อนเก็บกวาดห้อง จัดเก็บอุปกณ์ อย่างเป็นระเบียนเรียบร้อยค่าาาา
ประเมินเพื่อน : มีความคิดที่หลากหลายช่วยเหลือเพื่อนด้วยกันและมีน้ำใจ
ประเมิน อาจารย์ : ต้นคาบอาจารย์ติดประชุมแต่ก็ยังอุตส่าห์มาดูแลนักษาเมื่อประชุมเสร้จพร้อม ให้คำแนะนำดีๆในการคิดประดิษฐ์ของที่เเปลกใหม่
บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

ประจำวันพุธ ที่ 11 เดือนมีนาคม พ.ศ 2558

ศิลปะจากกระดาษ 10 ชิ้น
1. ศิลปะฉีกปะกระดาษ 
2. ศิลปะการตัดกระดาษ 
3. ศิลปะขยำกระดาษ
4. ศิลปะการสานลวดลาบด้วยกระดาษ
5. ศิลปะการเจาะกระดาษ
6. ศิลปะการการพับกระดาษ
7. ศิลปะการพับพัด
8. ศิลปะการการพับและวาดต่อเติม
9. ศิลปะการพับ
10. ศิลปะม้วนกระดาษ







การนำประยุกต์ใช้
  1. สร้างความเเปลกใหม่จากวัสดุเหลือใช้
  2. ผลงานมีความสร้างสรรค์และสอดแทรกไปด้วยความรู้และทักษะ
การประเมินหลังการสอน

ประเมิน ตนเอง : สนุกกับการทำงาน แต่งกายเรียบร้อย มาตรงเวลา 
ประเมิน เพื่อน : มีความสนใจในการทำงานศิลปะและช่วยกันทำงานศิลปะ
ประเมิน อาจารย์ : แต่งกายเรียบร้อย สอนเข้าใจ น่ารักอ่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

ประจำวันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ 2558


 การทำลูกชุบ 



วัสดุ-อุปกรณ์
  1. ถั่วเขียวซีกเลาะเปลือก 1/2 กิโลกรัม
  2. น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
  3. ผงวุ้น 1 ห่อ
  4. ไม้เสียบลูกชิ้นหรือไม้จิ้มฟัน
  5. สีผสมอาหาร
  6. กะทิ
  7. โฟมแผ่นหนาใช้สำหรับรองเสียบลูกชุบ
  8. กระทะไฟฟ้า
  9. ปลั๊ก 3ตา
  10. จานหรือถ้วยใส่สี
วิธีการทำ
1. นำถั่วเขียวเลาะเปลือกมาทำความสะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมงจากนั้นจึงนำไปนึ่งให้สุกใช้เวลาประมาณ 15 นาที)
2. เมื่อถั่วเขียวสุกดีแล้วให้นำไปใส่ในเครื่องปั่นไฟฟ้าพร้อมกับน้ำตาลทรายและน้ำกะทิ  ปั่นจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี
3. จากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในกระทะทองเหลือง(หรือกระทะเคลือบเทฟลอนก็ได้)และตั้งบนไฟอ่อนๆค่อยๆกวนจนข้นและเหนียว(ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที) จึงปิดไฟและทิ้งไว้ให้เย็น(ถั่วต้องแห้ง มิเช่นนั้นจะไม่สามารถนำไปปั้นได้)
4. ก่อนปั้นให้นวดส่วนผสมทั้งหมดอีกครั้งจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียวจากนั้นจึงปั้นให้เป็นรูปทรงตามใจชอบ(ผัก, ผลไม้หรือสัตว์น่ารักๆ)เมื่อปั้นเสร็จให้เสียบไม้จิ้มฟันรอไว้ 
5. ผสมสีผสมอาหารตามต้องการแล้วจึงบรรจงแต่งสีลงบนถั่วปั้นให้เหมือนจริง 
6. ทำน้ำวุ้นโดยผสมน้ำเปล่า,ผงวุ้นและน้ำตาลลงในหม้อนำไปตั้งบนไฟร้อนปานกลาง หมั่นคนอย่างสม่ำเสมอรอจนส่วนผสมเดือดช้อนฟองที่ลอยหน้าออกจึงหรี่ไฟลง
7. นำถั่วปั้นที่แต่งสีแล้วไปชุบในน้ำวุ้นควรชุบประมาณ 2 - 3 ครั้งระหว่างชุบวุ้นต้องอุ่นน้ำวุ้นด้วยไฟอ่อนเพื่อไม่ให้วุ้นแข็งถ้าไม่พอก็ผสมน้ำวุ้นขึ้นใหม่ตามอัตราส่วนข้างต้น
8. นำลูกชุบออกจากไม้จิ้มฟันตัดแต่งเศษวุ้นส่วนเกินออกด้วยกรรไกรจัดใส่จาน 


ภาพการทำลูกชุบ














ศิลปะจากสีน้ำ 


ผลงาน






การนำไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำการทำขนมลูกชุบไปจัดกิจรรมศิลปะให้กับเด็กปฐมวัยได้
  2. ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรค์จากการปั้นลูกชุบและเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการทำสีน้ำ
การประเมินหลังการสอน

ประเมินตนเอง : สนุกมาก ได้ทำลูกชุบและยังได้รับประทานลูกชุบ
ประเมินเพื่อน : มีความคิดสร้างสรรค์ในการปั้นลูกชุบและทำศิลปะสีน้ำได้อย่างมีเอกลักษณ์
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายเรียบร้อยมาตรงเวลา

บันทึกอนุทินครั้งที่7
ประจำวันพุธ ที่ 25 กุมภาพันธุ์ พ . ศ 2558

ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากสอบกลางภาคตั้งเเต่วันที่ 23 กุมภาพันธุ์- 1มีนาคม 


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
ประจำวันพุธ ที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ . ศ 2558

 วันนี้งานศิลปะ 14 ชิ้นงาน ดังนี้




1. การวาดภาพด้วยสีน้ำ
2. การดึงเส้นด้ายด้วยชุบสี
3. การเป่าสี
4. การกลิ้งสีโดยใช้ลูกแก้ว
5. การเทสี
6. การย้อมสีกระดาษทิชชู่
7. การเพ้นก้อนหิน
8. การพับสี
9. การเป่าฟองสบู่
10. การพ่นสี
11. จุดสร้างภาพโดยการใช้ก้านสำลี
12. การสลัดสีโดยใช้แปรงสีฟัน
13. การหยดสี
14. งานกลุ่ม การละเลงสี



การนำไปประยุกต์ใช้
  1. นำความหลากหลายของสีมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะได้อย่างมีเอกลักษณ์
  2. การทำงานศิลปะช่วยพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้านได้เป็นอย่างดี
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำผลงานศิลปะและพยายามจำเทคนิคการสอนต่างๆที่ครูได้สอนมา
ประเมินเพื่อน : สร้างผลงานศิลปะได้อย่างสวยงามและเป็นตัวของตัวเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายรายละเอียดชัดเจนเข้าใจง่าย

บันทึกอนุทินครั้งที่

ประจำวัน พุธ-พฤหัสบดี ที่ 11-12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558


งานศิลปะ 10 ชิ้น
-          การขูดสี
-           บาติกกระดาษ สีเทียน + สีน้ำ
-          วาดภาพอิสระด้วยสีเทียน
-          ฝนสีให้เกิดภาพ
-          การตัดเเปะกระดาษทราย
-          การปั้น 
-          การฝนสี
-          การเขียนสีหลายๆแท่งรวมกัน
-          การรีดสีด้วยเตารีดลงบนผืนผ้า










ผลงานต่างๆและภาพบรรยากาศ

















การนำไปประยุกต์ใช้

1.     เทคนิคการใช้สีมากมายเราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของผลงานที่ทำ
2.     ได้แนวทางในการทำผลงานศิลปะต่างๆที่หลากหลายและครอบคลุม

การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง : เรียนรู้เทคนิคต่างๆในการทำผลงานศิลปะ มาเรียนเช้า ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : เห็นความคิดแปลกๆใหม่ๆของเพื่อนมากมายและทุกคนก็ตั้งใจทำงานศิลปะของตนเอง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สรรหาวิธีต่างๆมาสอนและเป็นวิธีที่สร้างสรรค์และเป็นวิธีที่ไม่เคยรู้มาก่อน