วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

ประจำวันพุธ-พฤหัสบดี ที่ 28-29 มกราคม พ.ศ 2558



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนาเด็กนั้นผู้จัดกิจกรรมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดกิจกรรม ต้องมีการศึกษาทดลองและพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นระบบ เด็กปฐมวัยเป็นเด็กในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่พัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์กำลังเจริญเติบโตจึงต้องการการส่งเสริมด้วยกิจกรรมศิลปะที่มีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างเข้าใจและยั่งยืน  กิจกรรมศิลปะที่มีรากฐานมาจากความคิดที่หลากหลายและผ่านการทดลองอย่างเป็นระบบจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อเด็กเป็นอย่างมาก เสรีภาพทางความคิดและการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะตามความต้องการของผู้เรียนเป็นการสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ที่ครูศิลปะจะต้องจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพราะการที่เด็กแสดงออกได้มากเท่าไร นั่นย่อมหมายความว่า เขาได้ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาได้มากเท่านั้น และนั่นย่อมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  เพิ่มขึ้น  เมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้ว และนั่นยอมหมายถึงความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  เพิ่มขึ้นเมื่อปัญหาเดิมได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้ว  เด็กอาจยุ่งยากใจกับการแก้ปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงแต่ในโลกแห่งศิลปะ เขามีวิธีการในการเข้าไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาเสมอถ้าครูหรือผู้ปกครองไม่เข้าไปแย่งชิงช่วงเวลาอันมีคุณค่าของการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ตามเสรีภาพของเด็กด้วยความหวังดีที่ขาดความเข้าใจ 



การประยุกต์ใช้
1.     สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์
2.     นำทฤษฏีมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเรียนรู้ทางศิลปะให้กับเด็ก
การประเมินหลังการสอน
ประเมินตนเอง: มาสาย 10 นาที แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน: เพื่อนมีน้ำใจและตั้งใจเรียนกันทุกคน
ประเมินอาจารย์: อธิบายได้รายละเอียด เข้าใจง่าย แต่มุกฝืดไปหน่อยครับ 555




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น